หน่วยการเรียนรู้ที่ 10


แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย 

แนวโน้มใน ด้านบวก  

  • การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์ 
  • การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง 
  • การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้  
  • การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library) 
  • การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ  
  • การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen 



แนวโน้มใน ด้านลบ  

  • ความผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา 
  • การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ 
  • การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์ 
    เทคโนโลยีสารสนเทศ กับการศึกษา  
  •        เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้กับการศึกษาได้แก่ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI (Computer Aided Instruction) เทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้าขึ้นทำให้รูปการเรียนที่จำกัดด้วยชั้นเรียน ขนาดเล็กกลายเป็นการเรียนด้วยระบบการสื่อสารทางไกลหรือโทรศึกษา (tele-education) เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาและแก้ปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ผู้สอน ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตได้พัฒนาอย่างรวดเร็วและได้รับความนิยมมากขึ้นจึงได้ พัฒนาเป็น การเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ WBI (Web Based Instruction) หรือ WBL (Web Based Learning) และได้มีการพัฒนาปรับปรุงเป็นสื่อการเรียนการสอนแบบ e-Learning (Electronics Learning) 
    e-Learning คือ การนำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การอบรม



แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นอย่างไร
 ก็ดูเหมือนจะทำนายกันได้ยากเหมือนกัน แต่อย่างไรก็ดียังมีวิธีการที่สามารถทำนายอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ นั่นคือการใช้ เทคนิค เดลฟาย (Delphi technique) ที่ผู้ให้ข้อมูลจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นจริง ๆ ที่มีประสบการณ์ ที่กว้างขวางและช่ำชองเป็นเยี่ยม ผลการทำนายอนาคตหรือหาแนวโน้มจึงจะถูกต้องแม่นยำ ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาก็มีผู้เชี่ยวชาญได้ออกมากล่าวไว้อย่างน่าฟังต่าง ๆ นานา เช่นกัน.....บทความที่ท่านอ่านอยู่นี้ผู้เขียนในฐานะที่อยู่ในวงการเทคโนโลยีการศึกษาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี และได้ติดตามความเคลื่อนไหวทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากวารสารและเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ จึงขอแสดงความคิดเห็นถึงแนวโน้มในอนาคตของเทคโนโลยีการศึกษาช่วงระยะปี 2539 - 2549 ไว้ดังนี้คือ
.....1. ศูนย์ทรัพยากรทางการเรียน (Learning resources center) สำหรับการศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษาจะมีแนวโน้มร่วมมือร่วงมือกันจัดตั้งเป็นศูนย์กลางใช้ร่วมกันในกลุ่มโรงเรียน และเป็นการบริการที่สะดวกสบาย เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณและมีสื่อการสอนที่มีคุณภาพและมากพอเพียงกับความต้องการ ส่วนสื่อพื้นฐาน เช่น กระเป๋าผนัง แผ่นป้ายต่าง ๆ ฯลฯ ก็จะมีประจำอยู่ในห้องเรียนแล้ว ส่วนในระดับอุดมศึกษาก็จะมีสำนักเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อเป็นหน่วยกลางในการผลิตสื่อและให้บริการกับทุกหน่วยงานในสถาบัน ตลอดจนทำการวิจัยและพัฒนาสื่อให้มีประสิทธิภาพสูง
.....2. ชุดสื่อการสอน (Media package) นักเทคโนโลยีการศึกษาจะผลิตสื่อออกมาเป็นชุดสำเร็จรูปเพื่อสนองตอบความต้องการของครู โดยเน้นเนื้อหาที่ครูส่วนมากสอนนักเรียนไม่ค่อยเข้าใจ ชุดสื่อสำเร็จรูปประกอบด้วย คำแนะนำในการใช้ประกอบการสอนตัวสื่อ แบบฝึกหัดและแบบทดสอบตัวสื่อก็จะเป็นลักษณะ สื่อประสม (Multimedia)
.....3. การปรับปรุงเครื่องมือประกอบการสอน (Improved media equiment) จะมีลักษณะพัฒนาเครื่องมือหลาย ๆ อย่างให้อยู่ในเครื่องมือเดียวกัน เป็นลักษณะเอนกประสงค์ที่มีเครื่องมือชิ้นเดียว แต่ใช้ได้หลายหน้าที่ เช่น เป็นทั้งเครื่องฉายสไลด์และเครื่องฉายภาพโปร่งใส เป็นต้น
.....4. ใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ (Increase utilizing computer) โดยจะนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบการสอน มีการผลิตโปรแกรม CAI มากวิชาและมากเนื้อหา เพื่อให้สถาบันการศึกษาได้นำไปใช้ โดยเฉพาะจะทำเป็นลักษณะ Multimedia นอกจากนี้ในสถาบันการศึกษายังนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการบริหารจัดการมากขึ้นที่เรียกว่า CMI (Computermanagement instruction ) เพื่อความรวดเร็วในการใช้ข้อมูล
.....5. การผลิตสื่อจากท้องถิ่น (Local medias production) การผลิตสื่อโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งจะมีความริเริ่มทั้งรูปแบบวัสดุและเน้นประสิทธิภาพในการใช้ประกอบการสอน
.....6. การเปลี่ยนแปลงสื่อสิ่งพิมพ์ (Printing media) โดยเฉพาะตำราเรียนจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทั้งด้านเนื้อหาวิชาที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ลักษณะรูปเล่มและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญของหนังสือจะเปลี่ยนไปเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของนักเรียน จนในที่สุดจะเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic books)
.....7. การประสานเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานในและนอกประเทศจะมีมากขึ้น ทั้งนี้เพราะระบบโลกาภิวัตน์ ทำให้หน่วยงานทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา ได้ติดต่อใกล้ชิดกันอย่างรวดเร็วและสะดวกสบายและด้วยความก้าวหน้าทาง IT (Information Technology)ก็ยิ่งช่วยให้การเชื่อมโยงข้อมูลสะดวกรวดเร็วและมีประมาณมากขึ้นเป็นลำดับ
.....8. สื่อประเภทรายบุคคล (Individual media) เนื่องจากการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิต ฉะนั้นโอกาสที่ผู้เรียนจะเข้าชั้นเรียนจึงน้อยลง ทำให้ทุกคนต้องเรียนด้วยตนเองเมื่อมีเวลาว่างจากการทำงาน ฉะนั้นสื่อประเภทนี้ จึงต้องมีความสมบูรณ์ในตัวที่ผู้เรียนสามารถศึกษาได้เอง ซึ่งสะดวกต่อการพกพาไปได้ มีขนาดกะทัดรัด ใช้ง่าย และจูงใจให้ใช้ อาจจะอยู่ในรูปหนังสือโปรแกรม เทปเสียงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และอื่น ๆแหล่งที่มาhttp://www.geocities.com/mathematicity/future_tech.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น