หน่วยการเรียนรู้ที่ 6


ความหมายของการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
คือการจัดทำสื่อให้น่าสนใจ น่าติดตาม เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ผลิตจะต้องออกแบบและอาศัยความรู้ความชำนาญด้านศิลปะเข้ามาช่วยในการจัดทำให้หัวข้อย่อยหรือโครงสร้างข้อมูลที่กำหนดไว้นั้นเป็นรูปเป็นร่าง มีรูปแบบที่สวยงาม สามารถสื่อความหมายได้เหมาะสมกับเนื้อหา รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นเทคนิคต่าง ๆ ที่ทำให้สื่อที่ผลิตนั้น .สะดวกต่อการใช้ ง่ายต่อการเข้าใจ จะทำให้สื่อที่ผลิตนั้นมีคุณค่า และมีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี
การออกแบบสื่อ
องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย
หลักการออกแบบสื่อการสอน

ในการออกแบบ จำเป็นต้องศึกษาและเข้าใจขั้นตอนในการออกแบบ เพื่อนำมาประยุกต์เป็นแนวทางในการปฏิบัติและลงมือสร้างบทเรียน เพื่อให้ได้ผลงานที่ถูกต้องตามจุดประสงค์ เมื่อศึกษาและเข้าใจในการออกแบบดีแล้วย่อมจะทำให้ผลงานนั้นออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ

หลักการเกี่ยวกับการออกแบบ
หลักการออกแบบประกอบไปด้วย 9 ขั้นตอน ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ออกแบบสำหรับชั้นเรียนปกติ แต่ได้นำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ได้ หลักการสอนประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เร้าความสนใจ (Gain Attention)
ขั้นตอนที่ 2 บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objectives)
ขั้นตอนที่ 3 ทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)
ขั้นตอนที่ 4 การเสนอเนื้อหา (Present New Information)
ขั้นตอนที่ 5 ชี้แนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
ขั้นตอนที่ 6 กระตุ้นการตอบสนอง (Elicit Responses)
ขั้นตอนที่ 7 ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
ขั้นตอนที่ 8 ทดสอบความรู้ (Access Performance)
ขั้นตอนที่ 9 การจำและนำไปใช้ (Promote Retention and Transfer)
ประสิทธิภาพ   สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนินการสอนดังกล่าว   มักประกอบด้วยทฤษฎี/หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือและกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนด   ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือเป็นแบบอย่างในการจัดและดำเนินการสอนอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้
2.1.2   ทฤษฎีสร้างความรู้นิยม (Constructivism)
2.1.2.1  ความหมายของทฤษฎีสร้างความรู้นิยม  ได้มีผู้ให้ความหมายและชื่อของทฤษฎี
Constructivism ไว้แตกต่างกัน ดังนี้
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)  เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำในการสร้างความรู้มากกว่าเป็นผู้รับการถ่ายทอดความรู้จากครูผู้สอน(สุภนิดา, 2553)
ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม (Constructivism Approach) มีหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการสอน การเรียนรู้คือนักเรียนจะต้องสร้างความรู้ (Knowledge) ขึ้นในใจเอง ครูเป็นแค่เพียงผู้ช่วยหรือเข้าใจในกระบวนการนี้โดยหาวิธีการจัดการข้อมูลข่าวสารให้มีความหมายแก่นักเรียน หรือให้โอกาสนักเรียนได้มีโอกาสค้นพบด้วยตนเอง นอกจากนี้จะต้องสอนศิลปะการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน  นักเรียนจะต้องเป็นผู้ลงมือกระทำเองไม่ว่าครูจะใช้วิธีสอนอย่างไร (สุรางค์, 2541)
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism)  ทฤษฎีการสร้างความรู้ว่าด้วยผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ความรู้ขึ้นได้เอง การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของบุคคลในการสร้างความรู้และความหมายของสิ่งต่าง ๆ ที่ตนได้รับ ผ่านกระบวนการซึมซับ (Assimilation)  คือการนำข้อมูลหรือความรู้ใหม่ที่ได้รับไปเชื่อมโยงอย่างกลมกลืนกับโครงสร้างความรู้ที่ตนมีอยู่  และการปรับกระบวนการการรู้คิด  (Accommodation)  คือการคิดค้นหาวิธีการต่าง ๆ มาใช้ในการสร้างความเข้าใจจนเกิดเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง  ดังนั้นการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการภายในที่แต่ละบุคคลต้องเป็นผู้สร้างด้วยตนเองและสามารถทำได้ดียิ่งหากได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากที่อื่น (ราชบัณฑิตสถาน, 2551)
นิรมิตนิยม (Constructivism) (นิรมิต แปลว่า สร้าง) สรุปไว้ว่านิรมิตนิยมเชื่อว่า ความรู้ ก็คือ
สิ่งที่ผู้เรียนรับรู้และเข้าใจ    ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของเขา  ขึ้นอยู่กับการแปลความหมายของเขา เราไม่สามารถจะถ่ายทอดความรู้จากการสอนโดยตรง  แต่เด็กจะต้องค้นพบความรู้ด้วยตัวของเขา  ซึ่งก็หมายความว่าเด็กต้องสร้าง (Construct) ความรู้ขึ้นด้วยตัวของเขาเอง   การสร้างความรู้นั้นก็มีหลักการว่า ต้องเรียนความรู้จากบริบทที่แวดล้อมอยู่ ต้องเรียนจากการทำจริงปฏิบัติจริงจากสถานการณ์ที่เป็นจริง ครูยังมีบทบาทสำคัญ ไม่ใช่ฐานะผู้สอนแต่เป็นผู้อำนวยความสะดวก เด็กต้องมีอิสระที่จะเลือก ที่จะเรียน  เด็กต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อนนักเรียนด้วยกันมีส่วนร่วมที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ฯลฯ
นวัตกรรมการเรียนการสอน
นวัตกรรมการเรียนการสอน
ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดประสิทธิผล
ในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู อาจารย์ จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู
อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ นั้น คือ นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเอง
ความหมาย
คำจำกัดความของคำว่า นวัตกรรมทางการศึกษาจึงหมายถึงสิ่งประดิษฐ์หรือ
วิธีการใหม่ ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่
น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ
ถ้าส่งผลงานในลักษณะนี้ต้องมีเอกสารประกอบด้วย
ความสำคัญ
ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา ก็คือ สามารถนำมาใช้ให้เกิด
ประโยชน์ในวงการศึกษาสรุปได้ ดังนี้
1. เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน เช่น
1.1 ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือ ครูส่วนใหญ่ยังคง
ยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น
การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย
เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้น
ความคิด และสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย
1.2 ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา บางวิชาเนื้อหามาก และบางวิชามีเนื้อหาเป็น
นามธรรมยากแก่การเข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย
1.3 ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน บางเนื้อหามีสื่อการสอนเป็นจำนวนน้อย
ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้น
จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอน และผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อ
นำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้
2. เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ ๆ ใน
การเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู อาจารย์ท่านอื่น ๆ หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบ
หนึ่งให้กับครูอาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อ
การสอนใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
ขั้นตอน
1. ขั้นเตรียมการและวางแผนในการจัดทำผลงาน จะต้องมีการ
1.1 กำหนดรูปแบบของผลงาน
1.2 กำหนดเป้าหมายและขอบข่ายของเนื้อหาวิชา
1.3 กำหนดเป้าหมายและขอบข่ายของเนื้อหาวิชา
2. ขั้นตอนการจัดทำผลงาน
2.1 นำหลักสูตร เนื้อหา และจุดประสงค์การเรียนรู้ในวิชานั้นเป็นหลักใน
การจัด
2.2 กำหนดโครงสร้างของผลงาน (ใช้ในภาคเรียนใดและแต่ละเรื่องจะ
จัดทำสื่อเป็นจำนวนเท่าใดบ้าง)
3. ขั้นทดลองนำผลงานไปใช้ เช่น
3.1 ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง
3.2 ควรมีการวิจัยสื่อที่จะนำไปทดลองใช้ เพื่อวัดประสิทธิภาพของสื่อที่
ผลิตขึ้นว่าสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน ในด้าน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนการสอนเพียงใด
3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนั้น ควรจัดทำให้สามารถวัดผลได้อย่าง
ชัดเจน
4. ขั้นนำผลงานไปใช้
- ควรอธิบายกรรมวิธีในการนำไปใช้ได้อย่างละเอียดและเป็นขั้นตอน
5. ผลของการนำไปใช้
- อธิบายให้เห็นว่าสิ่งประดิษฐ์นั้น สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือ
นำไปเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง
6. ขั้นการเผยแพร่และสร้างการยอมรับ
- เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าสื่อนวัตกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้น มีประโยชน์
อย่างแท้จริงต่อการเรียนการสอน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเผยแพร่
เพื่อให้เกิดการยอมรับในวงการศึกษา
ขั้นตอนนี้ ควรอธิบายโดยละเอียดว่า ได้มีการเผยแพร่ที่ใด หรือใน
ลักษณะใดบ้าง โดยอาจแบ่งประเภทให้เห็นชัดเจนว่า
- การเผยแพร่ในโรงเรียน
- การเผยแพร่แก่สาธารณะในวงการศึกษา
รูปแบบนวัตกรรม
นวัตกรรมสามารถจัดทำได้หลายรูปแบบ เช่น
- แผนการสอน
- ชุดการสอน
- คู่มือครู
- บทเรียนสำเร็จรูป
- สไลด์
- ใบความรู้ ทุกรูปแบบต้องมีคู่มือในการใช้สื่อด้วย
- สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ
- เกม
- ฯลฯ
เทคนิคในการจัดทำ
1. ในการผลิตสื่อการสอน ควรเน้นในเรื่องความประหยัดและให้เกิด
ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน (ทำจริง ใช้จริง มีประโยชน์ต่อนักเรียนจริง)
2. ต้องมีคู่มือในการใช้สื่อและสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถให้รายละเอียดในเรื่องต่าง
- จุดประสงค์ในการสร้างสื่อ
- วัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่าย
- รูปแบบที่ต้นแบบ
- วิธีการทำ/ ผลิต / ประดิษฐ์
- การทดลองใช้/ การปรับปรุงแก้ไข
- ประโยชน์/ การนำไปใช้
- คุณภาพ / ประสิทธิภาพ /
- หลักฐานการนำไปใช้
อ้างอิง : สมเดช สีแสง และคณะ. 2543.ปฏิรูปการเรียนรู้สู่การพัฒนาวิชาชีพครูตาม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. นครสวรรค์: ริมปิง__

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น